เทศบาลตำบลท้องเนียน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เพื่อแสดงสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนี้
“เมืองแห่งการเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สังคมน่าอยู่ คู่เกษตรกรรมยั่งยืน”
พันธกิจของเทศบาลตำบลท้องเนียน
พันธกิจที่ 1
ส่งเสริม พัฒนาด้านการศึกษา มุ่งเน้นให้ประชาชนในชุมชน ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนได้รับการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงทุกระดับ
พันธกิจที่ 2
พัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ สนับสนุนแนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชน สนับสนุนส่งเสริม ผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน สนับสนุนการประกอบอาชีพประมงและสงเสริมการลงทุนของภาครัฐ และเอกชนด้านการขนส่งทางน้ำ
พันธกิจที่ 3
ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว วางแผนในการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเจริญ
เติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลในระดับจังหวัดและระดับกลุ่มจังหวัดชายทะเลภาคใต้ตอนกลางฝั่งตะวันออก
พันธกิจที่ 4
ส่งเสริมสวัสดิการสังคม ด้านสาธารณะสุข ให้ทั่วถึงประชาชนทุกกลุ่ม ส่งเสริมการจัดกิจกรรมด้านการกีฬา การออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และรณรงค์ ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด
พันธกิจที่ 5
การพัฒนาเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ โดยการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคและด้านสาธารณูปการให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้อย่างเพียงพอ ครอบคลุม ทั่วถึง เพื่อรองรับการขยายเมืองในอนาคต
พันธกิจที่ 6
อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พันธกิจที่ 7
อนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงรักษา ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
พันธกิจที่ 8
ส่งเสริมความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านประชาธิปไตยแก่ประชาชน
พันธกิจที่ 9
พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน สร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน
พันธกิจที่ 10
ภารกิจตาม พ.ร . บ . เทศบาล และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเทศบาลตำบลท้องเนียน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางคมนาคม ให้ได้มาตรฐาน สะดวก และปลอดภัย
2. พัฒนาระบบประปาให้ได้มาตรฐาน ประชาชนมีน้ำอุปโภค บริโภคที่สะอาด
3. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้ทั่วถึงและเพียงพอ
4. พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ โดยการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะออกไปอย่างทั่วถึง
5. ประกาศใช้ผังเมืองเป็นกรอบในการพัฒนาด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น
ด้านเศรษฐกิจ
1 . ส่งเสริมการลงทุน การพาณิชย์ และการพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น พัฒนาคุณภาพและฝีมือแรงงานให้แก่ประชาชน
3. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน และความต้องการของตลาดวิสาหกิจชุมชน และสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างมูลค่าสินค้า
4. ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โบราณสถาน และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว
5. ส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
6. ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น และการจัดตั้งตลาดชุมชน
7. ให้ความสำคัญกับการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้ ปุ๋ยเคมี
ด้านการศึกษา สาธารณสุข กีฬา นันทนาการ และสวัสดิการสังคม
1. สนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ส่งเสริมให้มีการศึกษาตลอดชีพและให้เข้าถึงประชาชนตามหลักคุณธรรมนำความรู้
2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนา และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการจัดการศึกษา
3. ส่งเสริมให้มีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดความเสมอภาค และเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกกลุ่ม
4. ดำเนินการรณรงค์ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อไม่ให้จำนวนผู้ติดยาเสพติดเพิ่มขึ้น และลดจำนวนผู้เกี่ยวข้องเดิมให้ลดลง
5. สนับสนุนให้ประชาชนเล่นกีฬา ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และให้มีลานกีฬาอย่างเหมาะสมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า
6. จัดให้มีสวัสดิการแก่คนชรา คนพิการ เด็กด้อยโอกาส ผู้ป่วยโรคเอดส์
7. ดำเนินการสงเคราะห์ ส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้สามารถเป็นพลังแก่ชุมชนได้
8. ควบคุมป้องกันโรคติดต่ออย่างเป็นระบบ
9. ส่งเสริมการผลิตและการใช้สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย (การแพทย์ทางเลือก)
10. ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพของคนในครอบครัว เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยดำเนินการให้ประชาชนมีนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
ด้านความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1. ดำเนินการจัดฝึกอบรม อปพร. ในการดูแลความสงบเรียบร้อยของชุมชน ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด อบายมุข และ อาชญากรรม
3. ให้ความรู้ความเข้าใจหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการพัฒนาการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. รณรงค์ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ
4. ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้มีน้ำในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม เพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการน้ำ โดยมีระบบช่วยในการตัดสินใจ ระบบพยากรณ์ และเตือนภัยน้ำแล้ง น้ำท่วม
5. ส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวะภาพ เพื่อการพัฒนาดินให้มีความอุดมสมบูรณ์
6. รณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้สารเคมี ยาปราบศัตรูพืชต่าง ๆ โดยหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
7. จัดการด้านการกำจัดขยะแบบฝังกลบให้ถูกสุขลักษณะ
8. รณรงค์ให้ประชาชนลดการเผาขยะ และสารเคมีต่าง ๆ เพื่อลดมลพิษในอากาศ
9. ส่งเสริมเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล ให้มีบทบาทในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
10. บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ควบคู่กับการวางแผนป้องกันภาวะเสื่อมโทรมของแหล่งท่องเที่ยวอันเป็นทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนอย่างเป็นระบบ
11. รณรงค์และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนลดการบุกรุกป่า ทำลายแหล่งต้นน้ำ และ
ลดการล่าสัตว์ในเขตป่าสงวน
ด้านศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
1. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม ประเพณี
2. ส่งเสริมให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยพัฒนาจิตใจควบคู่กับการพัฒนาการเรียนรู้ของคนทุกกลุ่ม ส่งเสริมทุนทางปัญญา ให้คนทุกคนคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล มีความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่กับการสืบสานประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ในอนาคต
3. ส่งเสริมการสนับสนุนองค์กร บุคลากรทางศาสนาทุกศาสนา เพื่อให้มีการเผยแพร่ หลักธรรม คำสอนที่ถูกต้อง เหมาะสมแก่ประชาชน
ด้านการบริหาร การจัดการ
1. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการอย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอื่นๆ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายการพัฒนา
3. ส่งเสริมกระบวนการประชาคมทุกระดับให้มีความเข้มแข็ง และให้ประชาคมมีส่วนในการตรวจสอบ และการบริหารงานของเทศบาลตำบลท้องเนียน
4. พัฒนาและส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ตอบสนองความต้องการในระดับ
ชุมชนภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สนับสนุนให้มีระบบฐานข้อมูลกลางและระบบการ ติดตามผล
5. พัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยการจัดอบรมพนักงานเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาล
6. ส่งเสริม ให้ความรู้แก่สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อเข้าใจบทบาท หน้าที่ กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน
7. ลดขั้นตอน และพัฒนาระบบการให้บริการแก่ประชาชน
|